ทำไม ยางพารา จึงชื่อ พารา และทำไมจึงเรียกว่า Rubber

Alto Juruá Extractive Reserve, Acre, Brazil

 

อันที่จริงแล้วต้นไม้ที่มีน้ำยางในลำต้นมีอยู่หลายชนิด เช่น ต้นมะม่วง ต้นขนุน ต้นตะเคียน

ก็ล้วนแต่มีน้ำยางทั้งนั้น (คนละอันกับยางอายนะครับ) แต่ต้นไม่ชนิดนึง ที่มีถิ่นกำเนิด

บริเวณลุ่มแม่น้ำอเมซอน ประเทศบราซิลและเปรูในทวีปอเมริกาใต้

มีน้ำยางที่พิเศษคือ มีความเหนียวคงทน ชาวพื้นเมืองเอาน้ำยางมาเทราดเท้า

แล้วกลายเป็นรองเท้าใส่กัน พวกเค้าเรียกต้นไม้นี้ว่า  “เกาชู” (cao tchu) แปลว่าต้นไม้ร้องไห้

 

ต่อมา พ.ศ. 2313 (1770) ฝรั่งชื่อ โจเซฟ พรีสต์ลีย์ ไปเจอเข้า และเห็นว่ายางที่แห้งแล้วสามารถ

เอามาถู (Rub) กับกระดาษแล้วทำให้ลายดินสอหายไป แต่กระดาษไม่ขาด

การที่เอาอะไรมาถูกัน เค้าเรียกว่า Rub  เหมือนการถูหรือลูบเอวหมาน้อย

เค้าเรียก Belly Rub เป็นต้น

belly-rub

 

 

 

 

 

 

 

นายโจเซฟนี้ ดันไม่เรียกชื่อต้นไม้ตามที่คนพื้นเมืองเรียกครับ เค้าเรียกมันว่า

Rubber คือ ที่ถู ดังนั้นน้ำยางที่ออกมาจากต้นยางเลยถูกฝรั่งกำหนดให้เรียกว่า

Rubber เสียเลย

 

ต่อมาเมื่อเกิดการเห็นประโยชน์กันเยอะทั่วโลก ก็เลยมีการส่งออกยาง โดยเมือง

ที่ส่งออกเป็นเมืองท่าของบราซิล ชื่อ Para จากนั้นมาคนทั้งโลกก็เลยเรียก

ตามๆกันว่า Para Rubber หรือ ยางพารา มาจนถึงวันนี้

map-para-brazil

 

แล้วยางพารามันเกี่ยวกับประเทศไทยได้อย่างไร 

อันที่จริงแล้วต่้นยางพาราเนี่ยไม่ได้เกิดที่เมืองไทย บ้านเราไม่มีครับ

Russada

แต่ในปีพ.ศ. 2442 พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) 

เจ้าเมืองตรัง ผู้พัฒนาเมืองตรังให้เจริญก้าวหน้าจนกลายเป็นเมืองเกษตรกรรม

และได้เลื่อนตำแหน่งเป็น สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต เป็นผู้มี

Vision ที่กว้างไกล ได้นำเอาต้นยางพารามาปลูกที่ จังหวัดตรัง และส่งเสริมให้

ชาวไทยทางใต้ได้นำไปเพาะปลูก ใหม่ๆเราก็เรียกว่า ยางเทศา เข้าใจว่าเป็น

การเรียกตามตำแหน่งของท่าน สมุหเทศาภิบาล นี่เอง

 

Hevea_brasiliensis_-_Köhler–s_Medizinal-Pflanzen-071

 

ด้วยความที่ภาคใต้ของเมืองไทย ดันมีภูมิอากาศและดินที่เหมาะสมกับการปลูก

ยางพารามากกว่าที่ไหนในโลก ดังนั้น ผลผลิตจากยางพาราของไทยจึงมีผล

ผลิตออกมามาก

 

จากวันนั้นที่เราไม่เคยมียางพาราแม้แต่ต้นเดียว ตอนนี้ เราเป็นผู้ที่ส่งออกยางพารา

มากที่สุดในโลก ทำเงิน ทำรายได้ให้กับคนไทยมากมายมหาศาล

เราปลูก 100 ส่งออก 90 ใช้เองในประเทศแค่ 10 เท่านั้น

ดังนั้น ราคายางที่เราได้รับ จึงเป็นราคาที่เกิดจากการกำหนดของระดับโลกมากกว่า

 

วันนี้ เรากำลังมีปัญหากันเอง เพราะ เรื่องยางพารา เฮ้อ จบครับ

ถ้าสนใจเรื่องแบบนี้ ลองอ่านอันนี้ต่อครับ “ทหารอเมริกัน Navy, Marines, Army ต่างกันอย่างไร” 

800px-13th_MEU_disembarking_Bright_Star_2005

Trachoo.com
This entry was posted in See it, think about it and tagged , , , , , , , , , , , . Bookmark the permalink.
%d bloggers like this: