อ่านง่ายๆ พายุไต้ฝุ่นแบบ “หวู่ติ๊บ” เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

 

ในทุกๆปี ช่วงต้นเดือนตุลาคม ประเทศไทยของเราจะต้องมีข่าวการเตือนการมีไต้ฝุ่นจากทางทะเลจีนใต้

พัดเข้าไทยโดยที่ต้องขึ้นที่เวียตนามแล้ว อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น เช่น เมื่อปีที่แล้ววันที่ 6-7 ตุลาคม

เรามีมีพายุ “แกมี Gaemi” พัดเข้ามา เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่เราเรียกว่า ปลายฝนต้นหนาว

ของทุกปีครับ

พายุฝน ภาพที่เห็นชินตาในฤดูนี้

ในปีนี้ เราก็กำลังจะต้องเตรียมรับมือไต้ฝุ่น “หวู่ติ๊บ Wutip” ที่กำลังจะมาทางเดียวกันอีกเช่นกัน

SEch2

ภาพถ่ายดาวเทียมของ หวู่ติ๊บ

มาพบกับคำอธิบายว่า ทำไมพายุไต้ฝุ่นถึงเกิดขึ้นได้ และ ทำไมต้องเกิดกันตอนนี้เหมือนๆกันทุกปีครับ

Earth-lighting-winter-solstice_EN

พลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกส่วนบนจะน้อยลง
ในช่วงปลายปี

1) ในวันที่ 22-23 มิถุนายนของทุกปี พระอาทิตย์จะเริ่มเคลื่อนที่ลงจากที่เคยส่งตอนบนของโลก

และเริ่มมาส่องผ่านเส้นศูนย์สูตรตรงกลางของโลก สิ่งที่เกิดขึ้นคือ

2013-09-29_TopChart_07

แผนที่อากาศแสดง ความกดอากาศสูง (H) และต่ำ (L)

1.1 อากาศทางเหนือของโลกจะเริ่มเย็นลง อากาศที่เย็นจะมีน้ำหนักเรียกว่ามีความกดอากาศสูง

เกิดขึ้นแถบเมืองจีนจะเริ่มพัดลงมา สังเกตุตัว H ทางส่วนบนขวาของภาพคือ จีนและญี่ปุ่น

1.2 น้ำในมหาสมุทร แถวๆประเทศเราจะยังคงร้อนอยูู่่เพราะอมความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้

สังเกตุตัว L

crosssection

ภาพอธิบายการยกตัวของไอน้ำ

2) ไต้ฝุ่นมักจะเกิดในตอนที่เรากำลังจะเปลี่ยนไปสู่ฤดูหนาว หรือที่เรียกว่า ปลายฝนต้นหนาว

เพราะอากาศเย็นจากทางเมืองจีนจะพัดมาทำให้ มวลอากาศเหนือน้ำทะเลจะเย็นลงเร็ว

แต่น้ำทะเลยังมีความร้อนสะสมไอน้ำที่ร้อนจะระเหยขึ้นที่สูงอย่างรวดเร็วทำให้เกิด

“พื้นที่”ความกดอากาศต่ำที่ดึงดูดอากาศที่หนักกว่าเข้าหามันดังนั้น อากาศรอบๆจะไหลเข้า

มาเติมพื้นที่นั้น  ก็ให้เกิดการหมุนวนของอากาศอย่างรวดเร็ว จึงเรียกกันว่า พายุหมุน

Cyclone Diagram

ไอน้ำร้อนที่ยกตัว จะมีอากาศไหลเข้ามาแทนที่
ทำให้เกิดการหมุน เป็นพายุหมุน

กลายเป็นพายุหมุนในทะเลและเคลื่อนตัวเข้าหาฝั่ง ด้วยความเร็วลมที่ถ้าสูงมาก

เราก็เรียกว่า – พายุไต้ฝุ่น

ถ้าแรงน้อยลงมา เราก็เรียก – พายุโซนร้อน

ถ้าแรงน้อยลงมาอีก  – พายุดีเปรสชั่น

ซึ่งกรณีของ หวู่ติ๊บ นี้ก็เช่นกัน ตอนนี้มันพัฒนาจากพายุดีเปรสชั่น มาเป็นไต้ฝุ่นเรียบร้อยแล้ว

Screen Shot 2556-09-29 at 1.27.48 PM

การเดินทางของไต้ฝุ่น หวู่ติ๊บ

 

Screen Shot 2556-09-29 at 2.02.06 PM

คลิกเพื่อขยายดูการเพิ่มของความเร็วลม

 

3) แต่ประเทศไทยโชคดีในกรณีนี้เพราะ พายุหมุนจะอ่อนแรงเมื่อเข้าสู่ประเทศไทย เพราะ

พลังงานของเจ้าพายุได้รับมาจากความร้อนของน้ำทะเลที่จะส่งพลังงานให้กับเจ้าพายุนี

ดังนั้นเมื่อมันเข้าสู่พื้นแผ่นดิน มันจึงหมดแรงลงไป ความเร็วลมก็จะลดลงจนเป็นพายุโซนร้อน

หรือ พายุดีเปรสชั่นที่เราคุ้นเคยกันนี้เอง

 

แต่ถ้าญี่ปุ่นล่ะเรื่องใหญ่เลยครับ เพราะเค้าติดทะเล ไม่มีใครมาแบ่งเบาภาระเรื่องความแรง

ของพายุไต้ฝุ่นเลย ลองอ่านนะครับมีีอีกสองเรื่องน่าสนใจ

เที่ยวญี่ปุ่น เจอไต้ฝุ่นทำอย่างไร 

ญี่ปุ่นฝนตก 16 ชั่วโมง ไม่ท่วม

 

แล้วปลายฝนต้นหนาวก็จะจบลงไปด้วยการที่ อากาศเย็นจากทางประเทศจีนไหลเข้ามาแทนที่

พระอาทิตย์ก็เริ่มไปส่องแสงแรงๆที่ตอนล่างของโลก ทำให้เราหมดพายุฝนไปช่วงนึงให้เราได้

มีความสุขกับอากาศแห้ง ลมเย็นสบาย ความสุขแบบวันลอยกระทง การไปเที่ยวรับลมหนาว

ทางภาคเหนือก็กำลังกลับมาอีกครั้งนึง

hf6ab79cb9debckbdj56a

แม่คะนิ้ง

 

-จนกว่า อากาศจะหมุนเวียนมาให้เรา ร้อน และ เปียกฝนกันอีกครับ

ขอบคุณครับ

ปล. หวู่ติ๊บ แปลว่า ผีเสื้อครับ กำหนดชื่อโดย เขตปกครองพิเศษมาเก๊า

 

 

Trachoo.com
This entry was posted in Our Earth our nature, See it, think about it and tagged , , , , , , , , , . Bookmark the permalink.
%d bloggers like this: