นกหวีด ประวัติที่น่าสนใจ

+

เรื่องราวการ “เป่านกหวีด” ที่กำลังเกิดขึ้นมาเป็นกระแสอยู่ขณะนี้ทำให้เกิดความอยากรู้ประวัติที่มาของนกหวีดขึ้นมาเลยครับ ผมเลยไปลองหามารวบรวมให้อ่านกันครับ ในสมัยประมาณร้อยกว่าปีก่อนนั้น นกหวีดเป็นเครื่องดนตรีไม่ได้เป็นอุปกรณ์ทางการทหารการตำรวจแต่อย่างใด

SambaWhistle

samba whistle

ในปีคศ.1829หลังจากที่อังกฤษได้ก่อตั้งหน่วยตำรวจขึ้นมานั้น ตำรวจเค้าใช้กระพรวน (rattles) เป็นเครื่องส่งเสียงเรียกร้องความสนใจครับ ต่อมาก็เกิดความคิดในการเอานกหวีดจากวงการดนตรีมาใช้ในวงการตำรวจ และจึงให้มีการคิดค้นประดิษฐ์นกหวีดให้มีขนาดเล็กแต่เสียงดังโดยมีลักษณะตามรูปนี้คือ เป็นรูปทรงยาวและไม่มีลูกกลมๆอยู่ข้างใน เวลาเป่าออกมาจะมีระดับเสียง 2 เสียงออกมาพร้อมกันทำให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ของเสียง

1__041-metropolitan-police-

Police Whistle

แม้ทุกวันนี้เจ้านกหวีดแบบนี้ก็เริ่มลดบทบาทลง แต่มันก็เป็นอุปกรณ์อย่างนึงที่ผลิตออกมาเพื่อเป็นที่ระลึกของพิธีการโอกาสต่างๆกันอยู่

วงการกีฬานั้นเริ่มเอานกหวีดมาใช้ด้วยเหตุไม่ได้ตั้งใจครับ สมัยก่อนนั้นกรรมการผู้ตัดสินกีฬาไม่ได้ใช้นกหวีดแต่อย่างใด เค้าจะใช้การตะโกนหรือผ้าเช็ดหน้าเพื่อบอกนักกีฬาให้หยุดการแข่งขันหากมีการทำผิดกติกาเกิดขึ้น  โดยในปี 1884 กรรมการผู้ตัดสินกีฬารักบี้ที่นิวซีแลนด์ชื่อนาย William Atack ริเริ่มเอานกหวีดที่ผลิตโดยบริษัท J Hudson & Co. มาใช้เป็นครั้งแรกของโลกเลยครับ มันเป็นนกหวีดที่มีเม็ดอะไรอย่างนึงอยู่ข้างในที่เราคุ้นเคยกัน นกหวีดทรงแบบนี้มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า Acme Thunder ครับ

Acme Thunderer

Acme Thunderer

 

หลังจากนั้นเจ้านกหวีดหน้าตาแบบนี้ก็เป็นที่แพร่หลายกันในวงการกีฬา และที่สำคัญมันเป็นอุปกรณ์อันนึงที่ใช้บนเรือ Titanic ด้วย

ต่อมามีการนำไปใช้ในวงการกีฬามากมาย นกหวีดแบบนี้มันมีปัญหาอย่างนึงคือ เจ้าเม็ดที่อยู่ข้างในเวลาโดนน้ำหรือน้ำลายหรือฝุ่นมันจะติดไม่ขยับเวลาโดนเป่าและบล็อกการเป่าทำให้การเป่าหกหวีดไม่มีเสียงที่ดังเพียงพอ   กรรมการฟุตบอลคนนึงชื่อนาย Ron Foxcroft โดนคนดูโห่ เพราะระหว่างการแข่งขัน มีการทำฟาวล์เกิดขึ้นแต่คนคิดว่าเค้าไม่เป่า เพราะเค้าเป่าแล้วเสียงนกหวีดไม่ดังออกมา เค้าเลยเกิดแรงบันดาลใจไปจ้างนักออกแบบสินค้ามาช่วยเค้าออกแบบ นกหวีดแบบที่ไม่ต้องมีเม็ดข้างใน (Pealess Whistle) ในปี 1987 นาย Ron Foxcroft ก็นำหกหวีดชนิดนี้ออกมาแนะนำ มันมีชื่อว่า Fox40 เพราะมันออกมาตอนที่นาย Ron Foxcroft อายุ 40 ปีพอดี

Fox-40-whistle

Fox-40-whistle

นกหวีดชนิดนี้ได้รับความนิยมมากในกลุ่มกีฬาทางน้ำ หรือ Life Guard เพราะมันไม่มีปัญหาเรื่องกันบล็อกของเจ้าเม็ดข้างในเวลาที่เปียกหรือชื้น  แม้กระทั่งฟีฟ่าก็กำหนดให้ใช้นกหวีดแบบนี้เพราะมันมีเสียงที่พิเศษดีครับ

หวังว่าบล็อกนี้คงจะช่วยเสริมประสพการณ์ “การเป่านกหวีด” ที่ระบาดไปทั่วประเทศไทยเมื่อเร็วๆนี้ได้เป็นอย่างดีนะครับ

อ่านต่อ คลิกเลยครับ

Trachoo.com
This entry was posted in See it, think about it and tagged , , , , , , , , , . Bookmark the permalink.
%d bloggers like this: