ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

บล็อกนี้ได้ไปนำข้อมูลมาจากราชกิจจานุเบกษา เพื่อเล่าถึง ประวัติ ที่มาของชื่อ ถนน ทางหลวง ต่างๆ ลองอ่านกันเลยว่า ประวัติ ของ ชื่อ ถนนทางหลวงต่างๆ นั้นมีที่มาอย่างไร

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศขนานนามทางหลวงแผ่นดินให้เป็นเกียรติแก่ผู้มีส่วนประกอบคุณงามความดีต่อประเทศ ในราชกิจจานุเบกษา 12 ธันวาคม 2493 ดังนี้

1. ทางหลวงแผ่นดินสายกรุงเทพ-ชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด ให้ขนานนามว่าถนน “สุขุมวิทย์” เพื่อเป็นเกียรติแก่พระพิศาลสุขุมวิทย์ (ประสบ พิศาลสุขุมวิทย์ สุขุม) อดีตอธิบดีกรมทาง

2. ทางหลวงแผ่นดินสายประชาธิปัตย์ ให้ขนานนามว่าถนน “พหลโยธิน” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)

3. ทางหลวงแผ่นดินสายกรุงเทพ-หาดใหญ่ ให้ขนานนามว่าถนน “เพ็ชร์เกษม” เพื่อเป็นแก่ หลวงเพ็ชร์เกษม วิถีสวัสดิ์ (แถม เพ็ชร์เกษม) อธิบดีกรมทางในวันนั้น

4. ทางหลวงแผ่นดินสายสระบุรี-ปากช่อง-นครราชสีมา ให้ขนานนามว่าถนน “สุดบรรทัด” เพื่อเป็นแก่ พันโท ประเสริฐ สุดบรรทัด

5. ทางหลวงแผ่นดินสายดาวคะนอง-ป้อมพระจุลฯ ให้ขนานนามว่าถนน “สุขสวัสดิ์” เพื่อเป็นแก่ ร้อยโทหม่อมเจ้า ธัญญลักษณ์ สุขสวัสดิ์ นายช่างหัวหน้ากองก่อสร้าง กรมทาง

6. ทางหลวงแผ่นดินสาย บ้านพาชี-หินกอง-นครนายก-อรัญประเทศ ให้ขนานนามว่า ถนน “สุวรรณศร” เพื่อเป็นเกียรติแก่นายธะทรง สุวรรณศร อดีตนายช่างกำกับการเขตการทางกรุงเทพ

7. ทางหลวงแผ่นดินสาย มีนบุรี-ฉะเชิงเทรา-ปราจีณบุรี ให้ขนานนามว่า ถนน “สุวินทวงศ์” เพื่อเป็นเกียรติแก่นายเกษม สุวินทวงศ์ ดำรงตำแหน่งนายช่างกำกับเขตการทางปราจีณบุรี

8. ทางหลวงแผ่นดินสาย บางแพ-ดำเนินสดวก-สมุทรสงคราม ให้ขนานนามว่า ถนน “ชูศักดิ์” เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย ชูศักดิ์ คชเสนี

9. ทางหลวงแผ่นดินสาย หลักสี่-ดอนเมือง ให้ขนานนามว่า ถนน “ศรีรับสุข” เพื่อเป็นเกียรติแก่ร้อยตรี วงศ์ ศรีรับสุข อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางกรุงเทพ ที่ 2

10 . ทางหลวงแผ่นดินสาย นนทบุรี-ปากเกร็ด-ปทุมธานีให้ขนานนามว่า ถนน “ติวานนท์” เพื่อเป็นเกียรติแก่ขุนชิดชาญตรวจ (เชี่ยวชาญ ช.ติวานนท์) อดีตนายช่างกำกับการเขตการทางกรุงเทพ

11. ทางหลวงแผ่นดินสาย อนุสาวรีย์-หลักสี่-ปากเกร็ด ให้ขนานนามว่า ถนน “แจ้งวัฒนะ” เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย ชลอ แจ้งวัฒนะ นายช่างกำกับแขวงการทางกรุงเทพ ที่ 2

12. ทางหลวงแผ่นดินสาย บางเขน-นนทบุรี  ให้ขนานนามว่า ถนน “งามวงษ์วาน” เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย ดำรงค์ งามวงษ์วาน อดีตช่างกำกับหมวดการทางนนทบุรี

13. ทางหลวงแผ่นดินสาย สามแยกดอนกระเบื้อง-กาญจนบุรี-ปิล็อก  ให้ขนานนามว่า ถนน “แสงชูโต” เพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงอุปกรณ์รัฐวิถี (สระ แสงชูโต) อดีตนายช่างใหญ่กรมทาง

14.ทางหลวงแผ่นดินสาย วังน้อย-อยุธยา  ให้ขนานนามว่า ถนน “โรจนะ” เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย วิธี โรจนะ นายช่างกำกับแขวงการทางหินกอง

15. ทางหลวงแผ่นดินสาย คลอง1-บางปะอิน  ให้ขนานนามว่า ถนน “อุดมสรยุทธ์” เพื่อเป็นเกียรติแก่ พันเอก ขุนอุดมสรยุทธ์ (หาญ อุดมสรยุทธ์) อดีตเจ้ากรมยุทธโยธา

16. ทางหลวงแผ่นดินสาย นครปฐม-สุพรรณบุรี  ให้ขนานนามว่า ถนน “มาลัยแมน” เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายปุย มาลัยแมน หัวหน้ากองคลัง กรมทาง

17. ทางหลวงแผ่นดินสาย ฉะเชิงเทรา-พนัศนิคม-ชลบุรี  ให้ขนานนามว่า ถนน “ศุขประยูร” เพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงสัมฤทธิ์ วิศวกรรม (โกศล ศุขประยูร) นายช่างผู้ควบคุมการก่อสร้าง

18 .ทางหลวงแผ่นดินสาย ยะลา-เบตง  ให้ขนานนามว่า ถนน “สุขยางค์” เพื่อเป็นเกียรติแก่ พระยาศารศาสตร์ศิริลักษณ์ (สารศาสตร์ ศิริลักษณ์ สุขยางค์) อดีตนายช่างเอก

19.ทางหลวงแผ่นดินสาย สงขลา-สะเดา  ให้ขนานนามว่า ถนน “กาญจนวณิชย์” เพื่อเป็นเกียรติแก่ พระยาประกิตย์กลศาสตร์ (ประกิต รณชิต กาญจนวณิชย์) อดีตนายช่างด้านสงขลา

20. ทางหลวงแผ่นดินสาย ภูเก็ต-ท่าฉัตรชัย  ให้ขนานนามว่า ถนน “เสถียรฐาปนกิจ” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระยาเสถียรฐาปนกิจ (ดวง บุนนาค) อดีตนายช่างเอก

21. ทางหลวงแผ่นดินสาย ปัตตานี-นราธิวาส  ให้ขนานนามว่า ถนน “รามโกมุท” เพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงปริญญาโยควิบูลย์ (ชม-อุบล รามโกมุท) นายช่างควบคุมการสร้าง

22.  ทางหลวงแผ่นดินสาย ควนเนียง-สตูล ให้ขนานนามว่า ถนน “ยนตรการกำธร” เพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวง ยนตรการกำธร นายช่างผู้สร้าง

23. ทางหลวงแผ่นดินสาย นครศรีธรรมราช-ปากพนัง ให้ขนานนามว่า ถนน “สุนอนันต์” เพื่อเป็นเกียรติแก่ นาย อำพน สุนอนันต์  อดีตนายช่างแขวง

24.  ทางหลวงแผ่นดินสาย ปัตตานี-ยะลา ให้ขนานนามว่า ถนน “สิโรรส” เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายสุบิน สิโรรส นายช่างแขวง

25. ทางหลวงแผ่นดินสาย สวรรคโลก-สุโขทัย-ตาก ให้ขนานนามว่า ถนน “จรดวิถีถ่วง” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ ขุนจรดวิถีถ่วง นายช่างผู้สร้าง

26.  ทางหลวงแผ่นดินสาย พิษณุโลก-สุโขทัย ให้ขนานนามว่า ถนน “สิงหวัฒน์” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ ขุนสมศรี สิงหวัฒน์ (ประสมศรี สิงหวัฒน์) อดีตแขวง

27. ทางหลวงแผ่นดินสาย ร้องกวาง-งาว ให้ขนานนามว่า ถนน “วังซ้าย” เพื่อเป็นเกียรติแก่ หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางอำนาจเจริญ

28.  ทางหลวงแผ่นดินสาย เด่นชัย-แพร่-น่าน ให้ขนานนามว่า ถนน “ยันตรกิจโกศล” เพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวง ยันตรกิจโกศล นายช่างกำกับแขวงการทางแพร่

29. ทางหลวงแผ่นดินสาย เชียงใหม่-เชียงดาว-ฝาง ให้ขนานนามว่า ถนน “โชตนา” เพื่อเป็นเกียรติแก่นายทิม โชตนา นานช่างกำกับการเขตการทางเชียงใหม่

30. ทางหลวงแผ่นดินสาย ไชยบาดาล-เพชรบูรณ์-หล่มศักดิ์  ให้ขนานนามว่า ถนน “คชเสนี” เพื่อเป็นเกียรติแก่ นาย ปฐม คชเสนี อดีตอธิบดีกรมทาง

31. ทางหลวงแผ่นดินสาย นครราชสีมา-กบินทร์บุรี  ให้ขนานนามว่า ถนน “สืบศิริ” เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายจำรัส สืบศิริ นายช่างกำกับการเขตการทางนครราชสีมา

32. ทางหลวงแผ่นดินสาย นครราชสีมา-ขอนแก่น-อุดร-หนองคาย  ให้ขนานนามว่า ถนน “เจนจบทิศ” เพื่อเป็นเกียรติแก่ ขุนเจนจบทิศ (ชื้น ยงใจยุทธ) นายช่างหัวหน้าแผนกสำรวจ กองแบบแผน กรมทาง

33.  ทางหลวงแผ่นดินสาย ขอนแก่น-เลย-เชียงคาน ให้ขนานนามว่า ถนน “มลิวรรณ” เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายกมล มลิวรรณ นายช่างกำกับแขวงการทางอุดรธานี

34. ทางหลวงแผ่นดินสาย อุดรธานี-ธาตุนาเวง-นครพนม ให้ขนานนามว่า ถนน “นิตตะโย” เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายโสภณ นิตตะโย นายช่างกำกับแขงการทางชุมแพ

35. ทางหลวงแผ่นดินสาย อุดร-วังสะพุง ให้ขนานนามว่า ถนน “บุณยาหาร” เพื่อเป็นเกียรติแก่  นาย สง่า บุณยาหาร นายช่างกำกับแขวงการทางชุมแพ

36.  ทางหลวงแผ่นดินสาย ชนบท-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-อุบลราชธานี ให้ขนานนามว่า ถนน “แจ้งสนิท” เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายวินิต แจ้งสนิท นายช่างกำกับแขวงการทางบ้านไผ่

37. ทางหลวงแผ่นดินสาย มหาสารคาม-กาฬสินธุ์-สกลนคร  ให้ขนานนามว่า ถนน “ลีนานนท์” เพื่อเป็นเกียรติแก่นายไสว ลีนานนท์ อดีตนายช่างกำกับแขงการทางมหาสารคาม

38.  ทางหลวงแผ่นดินสาย สกลนคร-นาแก-นครพนม ให้ขนานนามว่า ถนน “มัธยมจันทร์” เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายประจวบ มัธยมจันทร์ อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางสกลนคร

39. ทางหลวงแผ่นดินสาย อุบลราชธานี-มุกดาหาร-นครพนม ให้ขนานนามว่า ถนน “ชยางกูร” เพื่อเป็นเกียรติแก่ หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางอำนาจเจริญ

40. ทางหลวงแผ่นดินสาย วารินทร์-พิมูล-ช่องเมฆ  ให้ขนานนามว่า ถนน “สถิตย์นิมานการ” เพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงสถิตย์นิมานการ (ชวน สุปิยพันธุ์ สถิตย์นิมานการ) อดีตนายช่างกำกับการก่อสร้าง

41. ทางหลวงแผ่นดินสาย อุบลราชธานี-เดชอุดม  ให้ขนานนามว่า ถนน “สถลมารค” เพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงสถลมารคมานิตย์ (สถลมารค สุวรรณเนตร) อดีตนายช่างกำกับแขวง

42. ทางหลวงแผ่นดินสาย ร้อยเอ็ด-สุรินทร์ ให้ขนานนามว่า ถนน “ปัทมานนท์” เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายวีรพล ปัทมานนท์ อดีตนายช่างกำกับหมวดการทางสุรินทร์

43. ทางหลวงแผ่นดินสาย ยะโสธร-อำนาจเจริญ  ให้ขนานนามว่า ถนน “อรุณประเสริฐ” เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายจำปี อรุณประเสิรฐ นายช่างกำกับแขวง

44. ทางหลวงแผ่นดินสาย ชัยภูมิ-บัวใหญ่-ตลาดไทร  ให้ขนานนามว่า ถนน “นิเวศน์รัตน์” เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายสิทธื์ นิเวศรัตน์ นายช่างกำกับแขวงการทางนครราชสีมาที่ 1

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

 

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

ประวัติที่มาของชื่อ ถนนทางหลวง ต่างๆ

Trachoo.com
This entry was posted in See it, think about it and tagged , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , . Bookmark the permalink.
%d bloggers like this: