Sony มีเค้าลางของมรสุมธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2529 แล้ว

ในหลายๆปีที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นการสูญเสียตำแหน่งผู้นำตลาดไปในหลายๆสินค้า เช่น IBM, Microsoft, Sony, Nokia, BlackBerry  และสินค้าอื่นๆอีกหลายตัว

ผมเกิดความสงสัยว่าสมัยก่อนเคยอ่านหนังสือเล่มนึงของ ชื่อ Made in Japan ของ Sony ที่เขียนโดยนาย AKIO MORITA  หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท Sony  มันอาจจะมีอะไรพูดๆเป็นลางไว้บ้างก็ได้ จึงไปหยิบมาเพื่อมาพลิกๆดูว่า เค้าเคยพูดอะไรไว้เป็นมุมคิดที่เราจะเอามาทำนายอนาคตได้บ้าง ก็อ่านเจอจนได้ครับ

Sony MADE IN JAPAN

หนังสือเล่มนี้ ผมต้องอ่านอย่างละเอียดเมื่อประมาณเกือบ 20 ปีก่อนเพราะต้องทำโฆษณาให้กับ Sony ในเมืองไทยที่ตอนนั้น Boom สุดขีด สินค้าทีวี เครื่องเสียงใหญ่น้อย วิดีโอ แฮนดี้แคม วอล์คแมน ดิสก์แมน มากมายยึดครองตลาดไว้หมด ผมก็ต้องอ่านเพื่อทำความเข้าใจปรัชญาของบริษัทลูกค้า

Sony's Book

หนังสือเล่มนี้ออกมาเมื่อปี 2529 ในห้วงเวลาที่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นกำลังบูมสุดขีด อันที่จริงเป็น Bubble Economy ที่กำลังจะแตกมากกว่า แต่เราไม่สามารถล่วงรู้อนาคตได้เลยว่า มหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างญี่ปุ่นในวันนั้น จะพบกับความถดถอยทางเศรษฐกิจต่อเนื่องยังไม่ผงกหัวเลยมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว

ถ้าย้อนไปในวันนั้น หนัง Hollywood ทุกเรื่องจะใช้เครื่องไฟฟ้าของ Sony เหมือนๆกับที่ทุกวันนี้เราเห็น Apple MacBook Pro หรือ iPhone ในหนังกันอย่างแพร่หลายกันเลยทีเดียว

เรามาลองดูกันเลยดีกว่าครับว่า นาย Akio Morita เค้าพูดถึงอะไรไว้บ้าง เรื่องแรกเลยคือ โอกาสความพ่ายแพ้ทางธุรกิจคอมพิวเตอร์และโลกดิจิตอล

Sony Calculator

ในหน้านี้ครับ เค้าเล่าว่าในปี 1964 หรือปี 2507 เค้าริเริ่มทำเครื่องคิดเลข สมัยก่อนไม่มีแบบเล็กๆนะครับ เป็นเครื่องใหญ่ๆหน้าตาเป็นแบบที่ผมเอาไว้ให้ดูข้างล่างนี้เลยครับ

sony_sobax

ต่อมานาย Akio Morita นี่แหละครับที่ตัดสินใจไม่พัฒนาเทคโนโลยี่เรื่องเครื่องคิดเลขต่อ  เพราะเห็นว่า ทุกคนในญี่ปุ่นกำลังมุ่งหน้ามาทางธุรกิจนี้ แต่ Sony ต้องการมีความแตกต่างจึงไม่เสียเวลาพัฒนาอะไรที่จะซ้ำซากกับคนอื่นดีกว่า

แต่ ถ้าอ่านที่ผมขีดเส้นไว้ เค้าบอกเลยครับว่า เป็นการขาดวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี่อย่างสิ้นเชิง เพราะ ถ้าหากวันนั้นเค้าไม่ยกเลิกการพัฒนาเทคโนโลยี่เครื่องคิดเลข ซึ่งก็คือ พื้นฐานสำคัญของการทำ Software และ Chip ที่จะนำ Sony เข้าสู่โลกคอมพิวเตอร์และดิจิตอล ได้อย่างแข็งแกร่ง

เมื่อเป็นดังนั้น Sony จึงล้าหลังคู่แข่งในโลกดิจิตอลจนกระทั่ง เมื่อ Sony พยายามจะเข้าตลาดคอมพิวเตอร์ ก็ทำตลาดได้เพียง 17 ปีเท่านั้นก็ต้องขายธุรกิจนี้ทิ้งไป

Screen Shot 2557-04-14 at 3.08.16 PM

มาต่อกันอีกเรื่องครับในหนังสือเล่มนี้ นาย Akio Morita ได้พูดถึงการไม่ให้ความสนใจกับเรื่อง Plasma TV  ตอนนั้น Sony มีความโดดเด่นมากในเรื่อง Sony Trinitron ซึ่งเป็นเทคโนโลยี่ที่ล้ำสมัยมากในโลกทีวีแบบหลอดแก้ว

Sony's Plasma TV

ในตอนนั้นมีลูกน้องในบริษัทเอาเทคโนโลยี่พลาสม่าทีวีมาเสนอ แต่เค้ามองว่าเป็นเรื่องไกลตัวเกินกว่าที่เค้าจะสนใจใส่ใจให้เวลาและเงินทุนในการพัฒนา ต่อมา Plasma TV ก็เกิดขึ้นมาบนโลกนี้จริงๆ ถ้าวันนั้น Sony ใส่ใจเรื่อง Plasma TV ป่านนี้ สินค้าประเภทเดียวกันของเกาหลี คงไม่สามารถก้าวทันเทคโนโลยี่ ไม่สามารถก้าวทันต้นทุนที่ดีกว่าของ Sony ได้อย่างแน่นอน

Screen Shot 2557-04-14 at 3.16.14 PM

เรื่องสุดท้าย เป็นเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรของ Sony เอง เสียดายที่ผมทำหนังสือเล่มนั้นหายไป

ken kutaragi

แต่ขอเล่าสั้นๆว่า Sony เกือบไม่มีธุรกิจ Playstation ที่ทำเงินให้กับ Sony อย่างมหาศาล เพราะชาว Sony รุ่นเก่ามีความคิดว่า Sony ไม่ควรมีธุรกิจเกมส์ ควรทำแค่ Audio และ Video เท่านั้น นาย Ken Kutaragi  ผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่ง Playstation เกือบโดนต่อต้านไม่ให้ทำโครงการ Playstation แต่โชคดีที่ผู้บริหารระดับสูงตัดสินใจลุยและให้แยกบริษัทออกไปอยู่ข้างนอกไม่ให้เจอหน้ากับพวก Sony เก่าๆ เราจึงเห็นว่า Sony Playstation เป็นอีกบริษัทนึงเลยมีโลโก้เป็นของตัวเองด้วยซ้ำ

นี่แหละครับ เรื่องราวที่ผมเคยอ่านมาแล้วเอากลับมาทบทวนช่วงวันหยุดสงกรานต์ เพื่อคิดว่า อะไรคือความล้มเหลวของธุรกิจที่เคยดังสุดขีดในยุคๆนึง

มันสอนให้ผมเข้าใจอย่างนึงว่า สิ่งที่ผู้บริหารธุรกิจที่ประสพความสำเร็จในปัจจุบันนั้น เค้ายืนอยู่บน Assumption อันนึง ซึ่งอาจจะถูกสำหรับวันนั้นหรือวันนี้เท่านั้น แต่ มันไม่ได้บอกว่ามันจะถูกต้องเสมอไป

วันนี้เวลาที่เราอ่านหรือเราชื่นชมความสำเร็จของใครก็ตามที่กำลังประสพความสำเร็จในวันนี้ ถ้าเราอ่าน Assumption ของเค้าให้แตกฉาน บางทีเราอาจจะเห็นอนาคตข้างหน้าก็เป็นได้

หวังว่าบล็อกนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้างนะครับ

Trachoo.com
This entry was posted in From my experiences, Marketing and Branding, See it, think about it and tagged , , , , , , . Bookmark the permalink.
%d bloggers like this: