นักแข่งที่ใช้ Porsche 997 GT3 R ใน Thailand Super Series

นักแข่ง Thailand Super Series Porsche B. Piti

นักแข่ง Thailand Super Series Porsche B. Piti

วันนี้นั่งคุยกับผู้จัดการทีมแข่งรถท่านนึง ซึ่งดูแลภาคธุรกิจของการแข่งรถยนต์ Thailand Super Series ทีม Singha AAS Motorsport ของคุณ ​ปิติ ภิรมย์ภักดี ผมเกิดสงสัยว่ารถแข่งที่เอามาแข่งกันเนี่ย เค้าเลือกรถกันอย่างไร แต่ละคันก็แรงไม่เท่ากัน ไหนๆจะเสียเงินแล้วทำไมไม่เอาคันที่มันแรงๆที่สุดมาแข่งกันเลย (เห็นภาพรถแล้วก็แหม ถอดอุปกรณ์ออกหมดเลย เสียดายจัง) บางคันก็เป็น Lamborghini , Audi , Ferrari แพงๆกันทั้งนั้นเลย

นักแข่ง Thailand Super Series

คุณปิติ ในรถ Porsche 997 GT3 R ที่ใช้ในการแข่ง Thailand Super Series

ผู้จัดการท่านนั้นเล่าว่า Porsche 997 GT3 R ที่คุณปิติเลือกมาแข่งใน Thailand Super Series นั้นอันที่จริงแล้วไม่ใช่รถที่แรงที่สุด เมื่อเทียบกับ Lamborghini , Audi , Ferrari ที่คนอื่นเค้าเอามาแข่งกัน ด้วยจำนวนสูบที่มีเพียง 6 สูบเมื่อต้องมาแข่งกับพวก 8-10 สูบก็มีความเสียเปรียบแล้ว อีกทั้งการที่เครื่องยนต์วางหลังของ Porsche นั้นก็ยังเสียเปรียบพวกเครื่องวางตรงกลางตัวรถแบบ Ferrari หรือ Lamborghini ในการทรงตัวเสียอีก (ผมก็ไม่รู้อะไรเลยครับ ชีวิตนี้ไม่เคยได้ขับกะเค้า)

นักแข่ง Thailand Super Series 10

Porsche 997 GT3 R คันนี้แหละครับที่ใช้ในการแข่ง Thailand Super Series

แต่ด้วยความที่คุณปิติ ภิรมย์ภักดี เป็นผู้ที่ชอบความท้าทาย เลือกรถยนต์ Porsche 997 GT3 R แม้จะรู้ว่าด้อยกว่าในด้านตัวรถ แต่ ด้วยความที่ท่านมีความเชื่อมั่นในการเป็นหนึ่งเดียวกับ Machine ที่ใช้แข่งคือจิตวิญญาณของ Porsche  อีกทั้งการแข่งรถไม่ได้แข่งกันที่นักแข่งกับตัวรถเท่านั้น การประสานกันเป็นหนึ่งเดียวของทีมทั้งทีมคือปัจจัยแห่งชัยชนะมากกว่า การประสานกันเป็นทีมที่ทำให้รถที่มีความด้อยกว่านี้ชนะได้ คือ ความท้าทายที่แท้จริง

เอาล่ะสิ ผมเริ่มสนุกและตื่นเต้นไปกับแนวคิดแบบนี้แล้ว เงินไม่ใช่ปัจจัยสำคัญสำหรับนายผมท่านนี้ ถ้าชนะเพราะซื้อของแพงๆแรงๆมาแข่ง มันจะได้อะไร

นักแข่ง Thailand Super Series 1

Race Engineer ชาวเยอรมันที่ทำหน้าที่ Develop รถแข่งที่ใช้ใน Thailand Super Series

จุดเริ่มต้นของการแข่ง  Thailand Super Series ครั้งนี้ เริ่มต้นที่รู้เขา-รู้เราแล้วมาสร้างกลยุทธ์การแข่งขัน สร้างทีม และ สร้างจุดแก้ไขจุดอ่อน ทีมงานที่สร้างขึ้นมานี้มีทั้งทีมงานที่พร้อมทำการวิเคราะห์การแข่งขันเพราะเป็นทีมวิศวกรการแข่งจากเยอรมันเองที่มีกันถึง 5 คนที่มีความชำนาญที่แตกต่างกัน

นักแข่ง Thailand Super Series 3

Race Engineer ที่ดูแลด้านการ Set Up ปรับแต่ง รถระหว่างการแข่งขัน

ทีมวิศวกรที่ชำนาญที่ Porsche มีให้นี่แหละที่เป็นอีกส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกใช้ Porsche 997 GT3-R ในการแข่ง Thailand Super Series ครั้งนี้

นักแข่ง Thailand Super Series Team

ทีมงานทั้งไทยและเทศกับอุปกรณ์การเตรียมพร้อมในการแข่งขัน

มาดูเรื่องการแก้ความเสียเปรียบของรถกันครับ

ด้วยความที่รถ Porsche มีเครื่องยนต์วางหลังทำให้หน้ารถมีน้ำหนักเบาอาจสูญเสียความสามารถในการเกาะถนน ทีมวิศวกรจึงคำนวณและทำสิ่งที่เรียกว่า Air Diffuser มีลักษณะเป็นแผ่นสีดำๆโค้งอยู่ด้านแก้มหน้าสองข้างของตัวรถ เจ้า Air Diffuser นี้จำทำหน้าที่รีดลมให้วิ่งผ่านอย่างรวดเร็วและเกิดแรงกดลงบนด้านหน้าของตัวรถอย่างมหาศาล

นักแข่ง Thailand Super Series AD

Air Diffuser เป็นแผ่นดำๆ 2 เส้น ที่นำมาใช้กับเจ้า Porsche คันนี้ในสนามแข่ง Thailand Super Series

เรื่องของยางแข่ง รถแต่ละคันจะมีความได้เปรียบเสียเปรียบกัน ดังนั้นทีมวิศวกรของนักแข่งจะคัดเลือกยางมาใช้อย่างดีให้เหมาะสมกับการแข่ง แต่ละเส้นมีราคาแพงมากและใช้เพียงไม่นานเท่านั้นก็ต้องเปลี่ยนเพื่อความปลอดภัย ยางที่คุณปิติเลือกมาใช้แข่งใน Thailand Super Series ครั้งนี้เป็นยาง Secret Compound ของมิชลินครับ

นักแข่ง Thailand Super Series 2

ยางมิชลิน Secret Compound

อีกจุดนึงที่บางคนอาจจะมองเป็นจุดด้อยของรถ Porsche ที่มีเครื่องวางหลังคือการมี Oversteer คือ การเข้าโค้งแล้วท้ายจะปัดออกนอกโค้ง ในขณะที่รถที่มีเครื่องวางกลาง ตัวรถจะเคลื่อนเข้าโค้งไปตามความโค้งได้เนียนกว่า

แต่ คุณปิติใช้อาการ Oversteer ให้เกิดประโยชน์คือ เมื่อรถเข้าโค้งท้ายรถจะปัดออก ทำให้ความเร็วในการออกจากโค้งสามารถทำเวลาได้ดีกว่ามาก เช่นในภาพประกอบอันนี้ จะเห็นว่าตอนแรก Lamborghini เข้าโค้งมาก่อน แต่ Porsche สามารถหลุดออกจากโค้งได้ก่อน Lamborghini เสียอีก

นักแข่ง Thailand Super Series 13

การใช้ประโยชน์จากการมี Oversteer ทำให้ออกจากโค้งได้อย่างรวดเร็ว

นักแข่ง Thailand Super Series 14

การใช้ประโยชน์จากการมี Oversteer ทำให้ออกจากโค้งได้อย่างรวดเร็ว

นักแข่งทุกคนต้องมีทีมงานที่พร้อมประสานงานกันตลอดเวลา ด้วยอุปกรณ์ Hi-Tech ที่สามารถประสานงานและรับรู้สภาพของรถได้ตลอดเวลา

นักแข่ง Thailand Super Series 15

Race Engineer ที่รับรู้สภาพรถและทำการสื่อสารกับนักแข่งตลอดเวลา และจะประสานงานกับทีมช่างเทคนิคเพื่อเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหาต่างๆ

อันที่จริงแล้ว เรื่องราวทางเทคนิคการแข่งรถและตัวนักแข่งใน Thailand Super Series ในการแก้เกมให้กับ Porsche 997 GT3 R ครั้งนี้ยังมีอีกมากมายแต่ผมขอละไว้เพื่อให้ความสำคัญกับเรื่องของ Teamwork มากกว่านะครับ การชดเชยความได้เปรียบด้วย Synergy ของทีมและการวางแผนที่ดีเป็นประเด็นของบล็อกนี้เลยครับ

ด้วยแนวคิดของการทำงานแบบเป็นทีม ทำให้ทีม Singha AAS Motorsport ที่ใช้รถ Porsche 997 GT3-R ได้รับชัยชนะถึงแม้จะมีความเสียเปรียบในหลายๆด้านของตัวรถเอง

นักแข่ง Thailand Super Series 27

นักแข่งของทีมได้รับชัยชนะในอันดับที่ 1 และ 2 ใน Thailand Super Series

การแข่งรถไม่ได้เป็นเรื่องของ นักแข่ง+ตัวรถ เท่านั้น แต่มันเป็นการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างแข็งขันและมุ่งมั่น คุณปิติ เล่าว่า ตัวผู้ขับเป็นคนที่ทำหน้าที่ในการพาตัวรถแข่งเข้าสู่เส้นชัยเท่านั้น แต่การที่รถเริ่มวิ่งจากเส้นสตาร์ทและเข้าเส้นชัยได้ เป็นเพราะทีมงานทั้งหมดต่างหาก

นักแข่ง Thailand Super Series 18

ทีมงานทั้งไทยและเทศ ในการแข่งขัน Thailand Super Series ถ่ายภาพร่วมกัน

การนั่งคุยกับผู้จัดการทีมท่านนี้ทำให้ผมได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง เช่น การมีความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้แม้รู้ว่าจะมีข้อเสียเปรียบ การใช้ความสามารถและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทีมเพื่อแก้ไขจุดอ่อน และที่สำคัญ

เงินสามารถซื้อความได้เปรียบของรถยนต์ได้ แต่ไม่ได้เป็นสิ่งการันตีความสำเร็จเสมอไป

ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้ครับ

นักแข่ง Thailand Super Series 24

ขอบคุณผู้จัดการสุดหล่อ (คนซ้าย) ที่ให้ความรู้เรื่องการแข่ง Thailand Super Series ครั้งนี้ครับ

Trachoo.com
This entry was posted in From my experiences, Marketing and Branding, See it, think about it and tagged , , , , , , , . Bookmark the permalink.
%d bloggers like this: