–

วิชาอารยธรรม สมัยโบราณ – สมัยกลาง คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิชาอารยธรรม ทำไมเราต้องเรียนวิชาที่เราไม่ชอบ หลายคนอาจคิดเหมือนผมว่า เราเป็นนักวิทยาศาสตร์ เราเป็นวิศวกร เราจะเรียนรู้เรื่องวิชาอารยธรรม ของ สายศิลปะไปทำไม
สมัยเรียนตอนปี1 มีวิชาอารยธรรม ( Civilisation) นี้ที่ผมไม่ชอบเลย แถมเรียน 8 โมงเช้า (นั่งรถเมล์จากคลองจั่นไปสามย่าน 1.5 ชั่วโมง) ไม่อยากเรียน ไม่อยากอ่าน แต่ต้องสอบ (ขนาดเรียนกับอาจารย์ บรูซ แก็ซตัน ด้วยซ้ำ) สอบมาก็เกรดไม่ดี ก็ดีที่เรียนจบๆวิชานี้ไปแต่ทุกวันนี้ คำต่างๆ ภาษา หลักคิด เนื้อหาในวิชาอารยธรรมนี้ กลับเป็น “ทรัพยากรทางสมอง” ที่สำคัญของผมเลยครับ
ความรู้จากวิชาอารยธรรม ทำให้ผมสามารถพูดคุยกับคนจากต่างชาติ ด้วยภาษาและความรู้ของคนที่มี “อารยความรู้” การเป็นคนมีภูมิทางความคิด (ผมเห็นว่า) เค้ามองกันที่การเป็นคนที่มีพื้นฐานความเข้าใจเรื่องอารยธรรมของโลก ศิลปะ สังคม วิวัฒนาการของความคิดของมนุษย์ อีกทั้งวิชาอารยธรรมที่เราไม่ชอบนี้ มหาวิทยาลัยเค้าปลูกพื้นฐานให้วันนี้ เราสามารถต่อยอดไปอ่านหนังสือที่ยากขึ้นในสาขาต่างๆ ดูสารคดี หรือ อ่านข่าวต่างประเทศ ทำให้เรามีเรื่องคิดที่มากขึ้น สูงขึ้น มีร่องสมองที่หลากหลายให้เลือกใช้ในแต่ละสถานการณ์

วิชาอารยธรรม สมัยโบราณ – สมัยกลาง คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เวลาที่เราไปต่างประเทศ หากเราสามารถนำความรู้จากวิชาอารยธรรม มาใช้พูดคุยกับคนในชีวิตประจำวัน เช่น ศิลปะ ที่มาของวัฒนธรรม อิทธิพลทางความคิดที่มีต่อเศรษฐกิจ มันจะทำให้เราดูดีมากว่าเป็นผู้มีความรู้ อีกทั้งการไปเที่ยวต่างประเทศก็จะสนุกและเข้าถึงความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศนั้นอย่างมาก ก็เพราะความรู้จากวิชาอารยธรรมนี่แหละครับ

วิชาอารยธรรม สมัยโบราณ – สมัยกลาง คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผมยืนยันว่า วิชาที่เราไม่ชอบเรียน เป็นทรัพยากรทางสมอง ของเราโดยไม่รู้ตัวจริงๆครับ รวมทั้งวิชาอารยธรรมนี้
ขอบคุณ เพื่อน Lonkani Ravi ที่ส่งหนังสือเล่มนี้มาให้ครับ
ขอบคุณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่บังคับให้เรียนวิชาอารยธรรมที่ผมไม่รู้ว่า ผมจะชอบในวันนี้ครับ
เรามารักวิชาอารยธรรมกันเถอะ