
เขื่อนกั้นน้ำทะเล สร้างอย่างไรไม่ให้น้ำทะเลเซาะพัง

เขื่อนกั้นน้ำทะเลช่วงที่สร้างเสร็จแล้ว

เขื่อนกั้นน้ำทะเลเซาะ แบบขั้นบันไดที่สวยงาม
เขื่อนกั้นน้ำทะเลเซาะ ก็คงต้อง เริ่มต้นจากทะเลที่มีแต่ทรายแบบนี้ครับ

ก่อนสร้างเขื่อนกั้นน้ำทะเล สภาพเป็นแบบนี้คร้บชายหาดตื้นๆ

เตรียมทำตาข่ายเป็นทรงกล่องเพื่อใส่หินลงไป
หลักการคือ สร้างฐานที่แข็งแรงที่สามารถป้องกันการกัดเซาะฐานราก เพื่อให้เขื่อนกั้นน้ำทะเลสามารถต้านทานการกัดเซาะของน้ำทะเลได้ เค้าจึงเอาหินก้อนใหญ่ๆมาใส่ลงไปในกล่องที่ทำด้วยตาข่ายพลาสติคขนาดหนา
ในภาพนี้ช่างกำลังสร้างกล่องใส่หินอยู่ข้างทางครับ

การเอาหินใส่เข้าไปในกล่องแล้วเรียงเป็นแนวเพื่อเป็นฐานรากของเขื่อน

หินจำนวนมากถูกมัดรวมกันไว้ในกล่อง

สร้างฐานของเขื่อนกั้นน้ำทะเลด้วยหิน เรียงกันเป็นแนวยาว
ฐานรากของ เขื่อนกั้นน้ำทะเล นี้ จะแข็งแรงขนาดไหนผมก็ไม่ทราบครับ เพราะอย่างไรก็ตามมันก็วางอยู่บนพื้นทรายธรรมดาๆเท่านั้นเอง ทรายที่พื้นจะไม่ทรุดหรือถูกซัดหายไปเหรอ ผมก็อดสงสัยไม่ได้

เริ่มทำคอนกรีดเพื่อเป็นตัวเขื่อนกั้นน้ำทะเล
เมื่อมีฐานแล้ว ตัวเขื่อนกั้นน้ำทะเลจริงๆก็เริ่มสร้างครับ ด้วยการก่อแบบคอนกรีตเพื่อเทปูนให้เป็นตัวเขื่อน

เขื่อนกั้นน้ำทะเลก็คือ คอนกรีตที่หุ้มฐานที่เป็นก้อนหินมัดกันไว้นี่เอง
หินที่รวมกันในกล่องที่มีตาข่ายพลาสติกห่อเอาไว้จะถูกซ้อนกันเป็นชั้นๆ เป็นขั้นบันได เพื่อที่จะสร้างให้มีเขื่อนเป็นรูปขั้นบันได

เขื่อนกั้นน้ำทะเลช่วงที่เสร็จแล้ว เหมาะสำหรับเป็นพื้นที่สันทนาการจริงๆครับ
เขื่อนกั้นน้ำทะเลบริเวณปากน้ำปราณบุรีนี้ในอนาคตคงเป็นที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจได้เป็นอย่างดี ความที่เป็นบันไดแบบนี้ อาจสามารถทำให้เป็นพื้นที่ชมกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ำ หรือ กิจกรรมกีฬาริมทะเล เช่น วอลเล่ย์บอลชายหาด ที่นั่งดูการแข่งขันเจ็ทสกีได้เป็นอย่างดี
หวังว่า เขื่อนกั้นน้ำทะเล อันนี้จะสามารถอยู่ทนนานตามเป้าหมายการออกแบบของวิศวกรและทำประโยชน์ให้สมกับเงินที่ทุ่มลงไปครับ
หวังว่าคงได้รับประโยชน์จากบล็อกนี้บ้าง
ขอบคุณครับ