Umami ( อูมามิ ) คืออะไร รสชาติที่ 5 ที่นักวิทยาศาสตร์ยอมรับเป็นภาษาวิชาการแล้ว

Tuna Sushi ของร้าน Sushi Kappou Kitaohji ที่รอให้ระดับของเอนไซน์ที่สร้างจมีระดับสูงสุดเพื่อความอร่อยสูงสุด

Umami (อูมามิ) คือ รสชาติที่ 5 ที่นักวิทยาศาสตร์เพิ่งจะให้การยอมรับ

เดิมทีนักวิทยาศาสตร์สรุปไว้ว่า คนเรามีต่อมรับรสชาติอยู่ 4 รสคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม และ ขม และเข้าใจผิดๆว่าต่อมลิ้นแบ่งพื้นที่กันรับรส

ต่อมาเมื่อสัก 100 ปีก่อนนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นค้นพบว่า มันมีอีกรสชาตินึงเค้าเรียกรสชาตินั้นว่า “อูมามิ”

แต่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกยังไม่ยอมรับว่ามันมีรสชาตินั้น และเพิ่งปี 1985 ที่นักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่า “อุมามิ” เป็นรสชาตินึงและเป็นชื่อภาษาทางวิทยาศาสตร์ไปเลย (ภาษาญี่ปุ่นเสียอีก)

เพราะ

นักวิทยาศาสตร์พบว่า ลิ้นของคนเราและสัตว์บางชนิด มีต่อมรับรส “อูมามิ” โดยเฉพาะเลย รส”อูมามิ” ทำให้เรารู้สึกความอร่อยของอาหารเพิ่มขึ้น รสชาติ “อูมามิ” เกิดจากสารสองตัว(ขอข้ามไปเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ) มาทำงานร่วมกัน สารที่ว่าเนี่ย มีอยู่ใน น้ำปลา ชีส สาหร่าย เห็ด ปลา เนื้อ มะเขือเทศสุก ซีอิ๊ว

สาหร่ายเป็นอาหารที่มีสารที่สร้างความอูมามิได้เป็นอย่างดี ดังที่ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นในปี 1908 จนเป็นที่มาของคำว่า Umami ที่โลกยอมรับในที่สุด

การที่คนไทยนำน้ำปลามาใส่อาหารแล้วอร่อย ไม่ได้เพราะว่า ความเค็มแต่เพราะความมีรสชาติของ อูมามิ ในน้ำปลา ก็เลยกลายเป็นเหตุให้ฝรั่งหันมาให้ความสนใจน้ำปลากันมาก

#ถ้าอยากลองชิมรสชาติอุมามิแบบง่ายๆ ลองไปหามะเขือเทศสุกสีแดงลูกใหญ่หน่อย แล้ว ฝานจิ้มกับน้ำปลา สารสองตัวจากทั้งสองอย่างจะบวกกันจนเกิดรส”อูมามิ” ในปาก

อาหารญี่ปุ่นที่นิยมทานปลาดิบกับซอสโชยุ ก็ด้วยหลักการเดียวกัน ปลาที่สดที่ตายทันทีจะ”ไม่มี”สารที่กระตุ้นรส “อูมามิ” สารตัวที่ว่านั้นจะค่อยๆเกิดขึ้นทีละน้อยๆและไปสูงสุด แล้ว สารตัวนั้นก็จะค่อยๆลดลง (สารที่ว่าชื่อ inosinic acid หรือ inosine monophosphate IMP ใส่เสียหน่อย) ถ้าลดลงจนเกือบหมด ปลาก็จะไม่อร่อยแบบ “อูมามิ” แล้ว

ดังนั้นการทานปลาดิบที่อร่อยคือ การทานตอนที่สาร IMP กำลังอยู่ในระดับสูงเพื่อให้มันไปทำงานร่วมกับสารอีกตัวนึง L-Glutamate ในซีอิ๊วโชยุ แถมปลาแต่ละชนิดก็สร้างสาร IMP ด้วยระยะเวลาที่แตกต่างกัน

ดังนั้น Logistics ของการจับปลาและส่งปลา และนำปลามาที่ร้านอาหารชั้นเลิศของญี่ปุ่นจะต้องวางแผนเรื่องของเวลา #เพื่อให้ปลาที่อยู่ที่ร้านมีสาร IMP ระดับสูงพอดี เค้าแย่งกันตรงนี้

นี่คือสาเหตุที่ร้าน Sushi Kappou Kitaohji (สาขาจากประเทศญี่ปุ่น) จึงต้องมีเรือหาปลาเป็นของตัวเอง และมีอำนาจต่อรองในตลาดปลา Tsukiji สูง เพื่อการบริหาร Logistics เพื่อนำระดับความอร่อยสูงสุดของปลา มาบริการลูกค้าให้เหนือกว่าคู่แข่งนั่นเองครับ

Counter ของ Sushi Kappou Kitaohji Omakase ที่จะได้ชมการทำอาหารอย่างใกล้ชิด

Trachoo.com
This entry was posted in Food, From my experiences, Japan Travel, Our Nature, See it, think about it and tagged , , , , , , , . Bookmark the permalink.
%d bloggers like this: