Tag Archives: เป่านกหวีด

ทำไมจึงเรียกกันว่า กำนัน สุเทพ เทือกสุบรรณ

หลายวันที่ผ่านมา คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทางสถานการณ์การเมืองในรอบหลายปี เริ่มจากการชวนกันเป่านกหวีดที่สถานีรถไฟสามเสนยาวมาจนถึง 24 พฤศจิกายน และดำเนินมาถึงทุกวันนี้ สิ่งนึงที่มีความแปลกตาแปลกหูคือ มีการเรียกคุณสุเทพว่า กำนันสุเทพ ทั้งๆที่ไม่เคยใช้เรียกอย่างแพร่หลายมาก่อน ข้อมูลที่มาและประวัติของคุณสุเทพ เริ่มถูกปล่อยออกมาทางสื่อสังคมออนไลน์เพื่อเน้นความเป็นกำนันด้วยการให้ข้อมูล “กำนันปริญญาโท” คนแรกของเมืองไทยได้เริ่มทะยอยส่งออกมาให้อ่าน ผมเริ่มคิดว่า ทำไมต้องเรียก “กำนัน” ทั้งๆที่คุณสุเทพมีหน้าที่สำคัญๆมาหลายอย่างเต็มที เลยเริ่ม”เดา“ไปเรื่อยๆว่า ทำไม 1. เพราะคุณสุเทพเคยเป็นกำนันมาก่อน (ตื้นไปไหม) 2. เพื่อสร้างความมีตำแหน่งทางหน้าที่ทางภาครัฐ (ตำแหน่งอื่นก็เคยเป็นเยอะแยะ ทำไมต้องให้เป็นกำนันตอนนี้) 3. เพราะการเป็นกำนันมีหน้าทีดูแล รับผิดชอบ “ทุกข์สุข ความเป็นอยู่”ของ”ชุมชน” แบบที่คนไทยเข้าใจ มีความใกล้ชิดกับประชาชน และเข้าถึงได้ทุกระดับ เข้าถึงง่าย ฟังดูใจดี  และกำนันคิดเร็วทำไว (อืม อันนี้น่าคิด) 4. เพื่อเป็นการตอกย้ำ ความเป็นผู้มี”ตำแหน่งแห่งหน” ก่อนที่จะเข้ามาเล่นการเมืองเต็มตัว (อืม น่าจะใช่) 5. เพื่อเป็นการแยกตัวเองออกจากพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นภาพลักษณ์มาตลอด 34 ปี เพราะเป็นกำนันก่อนเป็น ส.ส. (มีส่วนแฮะ) […]

นกหวีด ประวัติที่น่าสนใจ

นกหวีด Acme Thunderer

+ เรื่องราวการ “เป่านกหวีด” ที่กำลังเกิดขึ้นมาเป็นกระแสอยู่ขณะนี้ทำให้เกิดความอยากรู้ประวัติที่มาของนกหวีดขึ้นมาเลยครับ ผมเลยไปลองหามารวบรวมให้อ่านกันครับ ในสมัยประมาณร้อยกว่าปีก่อนนั้น นกหวีดเป็นเครื่องดนตรีไม่ได้เป็นอุปกรณ์ทางการทหารการตำรวจแต่อย่างใด ในปีคศ.1829หลังจากที่อังกฤษได้ก่อตั้งหน่วยตำรวจขึ้นมานั้น ตำรวจเค้าใช้กระพรวน (rattles) เป็นเครื่องส่งเสียงเรียกร้องความสนใจครับ ต่อมาก็เกิดความคิดในการเอานกหวีดจากวงการดนตรีมาใช้ในวงการตำรวจ และจึงให้มีการคิดค้นประดิษฐ์นกหวีดให้มีขนาดเล็กแต่เสียงดังโดยมีลักษณะตามรูปนี้คือ เป็นรูปทรงยาวและไม่มีลูกกลมๆอยู่ข้างใน เวลาเป่าออกมาจะมีระดับเสียง 2 เสียงออกมาพร้อมกันทำให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ของเสียง แม้ทุกวันนี้เจ้านกหวีดแบบนี้ก็เริ่มลดบทบาทลง แต่มันก็เป็นอุปกรณ์อย่างนึงที่ผลิตออกมาเพื่อเป็นที่ระลึกของพิธีการโอกาสต่างๆกันอยู่ วงการกีฬานั้นเริ่มเอานกหวีดมาใช้ด้วยเหตุไม่ได้ตั้งใจครับ สมัยก่อนนั้นกรรมการผู้ตัดสินกีฬาไม่ได้ใช้นกหวีดแต่อย่างใด เค้าจะใช้การตะโกนหรือผ้าเช็ดหน้าเพื่อบอกนักกีฬาให้หยุดการแข่งขันหากมีการทำผิดกติกาเกิดขึ้น  โดยในปี 1884 กรรมการผู้ตัดสินกีฬารักบี้ที่นิวซีแลนด์ชื่อนาย William Atack ริเริ่มเอานกหวีดที่ผลิตโดยบริษัท J Hudson & Co. มาใช้เป็นครั้งแรกของโลกเลยครับ มันเป็นนกหวีดที่มีเม็ดอะไรอย่างนึงอยู่ข้างในที่เราคุ้นเคยกัน นกหวีดทรงแบบนี้มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า Acme Thunder ครับ   หลังจากนั้นเจ้านกหวีดหน้าตาแบบนี้ก็เป็นที่แพร่หลายกันในวงการกีฬา และที่สำคัญมันเป็นอุปกรณ์อันนึงที่ใช้บนเรือ Titanic ด้วย ต่อมามีการนำไปใช้ในวงการกีฬามากมาย นกหวีดแบบนี้มันมีปัญหาอย่างนึงคือ เจ้าเม็ดที่อยู่ข้างในเวลาโดนน้ำหรือน้ำลายหรือฝุ่นมันจะติดไม่ขยับเวลาโดนเป่าและบล็อกการเป่าทำให้การเป่าหกหวีดไม่มีเสียงที่ดังเพียงพอ   กรรมการฟุตบอลคนนึงชื่อนาย Ron Foxcroft โดนคนดูโห่ เพราะระหว่างการแข่งขัน มีการทำฟาวล์เกิดขึ้นแต่คนคิดว่าเค้าไม่เป่า เพราะเค้าเป่าแล้วเสียงนกหวีดไม่ดังออกมา เค้าเลยเกิดแรงบันดาลใจไปจ้างนักออกแบบสินค้ามาช่วยเค้าออกแบบ นกหวีดแบบที่ไม่ต้องมีเม็ดข้างใน (Pealess Whistle) […]

สามเสน ชื่อนี้มีตำนาน

* เนื่องด้วยตอนนี้ สามเสนกำลังจะกลายเป็นจุดนัดหมายทางการเมืองเพื่อการร่วมกันต่อต้านกฏหมายสุดซอยยกเข่ง คิดโน่นคิดนี่ไปเรื่อย มันก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมเค้าถึงชื่อสามเสน ก็ไปลองเสิร์ชในเนทมาเคัาก็พูดกันเป็นเสียงเดียว โดยการอ้างถึงนิราศพระบาทของท่านสุนทรภู่เป็นหลัก ถึงสามเสนแจ้งความตามสำเหนียก เมื่อแรกเรียกสามแสนทั้งกรุงศรี ประชุมฉุดพุทธรูปในวารี ไม่เคลื่อนที่ชลธารบาดาลดิน จึงสาปนามสามแสนเป็นชื่อคุ้ง เออชาวกรุงกลับเรียกสามเสนสิ้น นี่หรือรักจะมิน่าเป็นราคิน แต่ชื่อดินเจียวยังกลายเป็นหลายคำ ขอใจนุชที่ฉันสุจริตรัก ให้แน่นหนักเหมือนพุทธรูปเลขาขำ ถึงแสนคนจะมาวอนชะอ้อนนำ สักแสนคำอย่าให้เคลื่อนจงเหมือนใจฯ ความว่า เค้าเชื่อกันว่ามีพระพุทธรูปลอยน้ำมาแถวแม่น้ำเจ้าพระยา แถวๆคลองแห่งนึงที่ไม่มีชื่อ ชาวบ้านพากันระดมคนมานิมนต์พระพุทธรูปนั้น ระดมกันถึง สามแสน คนก็ดึงพระพุทธรูปขึ้นมาจากน้ำไม่ได้ คนแถวนั้นก็เลยเรียกแถวนั้นว่า สามแสน และเพี้ยนมาเป็น สามเสน ตำแหน่งก็คงจะประมาณคลองที่ต่อมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณที่เห็นคำว่า สถานีตำรวจสามเสน ตามตำนานก็เลยบอกว่า แถวสามเสน เขตดุสิต นี่แหละได้ชื่อมาเพราะเหตุนี้ แต่อย่างไรเสีย ผมก็คิดว่ามันคงเป็นเรื่องเล่าและมีเหตุผลที่ผมคิดว่ายังไม่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้เชื่อนั่นก็คือ 1. หากต้องมีการระดมคนถึง 3 แสนคน มันต้องเป็นคนจำนวนมากมายมหาศาล 2. คนสามแสนคนร่วมกันดึงเชือก เชือกต้องยาวมากๆ สมัยก่อนจะมีเชือกที่แข็งแรงและยาวได้ขนาดนั้นเลยเหรอ และใช้พื้นที่กันอย่างไรต้อง”เป่านกหวีด“เพื่อช่วยกันดึงไหม 3. หากแถวนั้นมีคนถึง 3 แสนคน ก็ถือว่าเป็นชุมชนที่ใหญ่มาก […]

%d bloggers like this: